วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

หลวงปู่ทวด วัดเอี่ยมวรนุช


นะโมโพธิสัตโต

อาคันติมายะ

อิติภะคะวา

รูปหล่อหลวงปู่ทวด ที่วัดเอี่ยมวรนุช กทม.



ในบรรดาพระเครื่องในรูปของพระพุทธหรือรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ ไม่ว่าจะเป็นพระบูชา พระแขวนคอ ผ้ายันต์ ฯลฯ องค์ที่ได้รับการสร้างมากที่สุด(ตามความคิดของผม) รูปพระพุทธต้องเป็นหลวงพ่อโสธร พระเกจิฯต้องเป็นหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ ซึ่งในบทความตอนนี้ผมขอเขียนเฉพาะรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์เท่านั้น  เพื่อนๆลองไล่เรียงสิครับว่าพระอมตะเถราจารย์ในเมืองไทยเอาที่มรณภาพไปแล้วมีองค์ใดบ้าง เอาแบบที่มีชื่อเสียงแพร่หลายนะ เริ่มตั้งแต่ภาคเหนือ ได้แก่ครูบาศรีวิชัย ภาคอีสาน หลวงปู่มั่น  ภูริทัตโต ภาคกลาง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)  วัดระฆังฯ และ..ภาคใต้  หลวงปู่ทวด (เหยียบน้ำทะเลจืด) แห่งวัดช้างไห้


..





 ในบรรดาพระอมตะเถระเจ้าทั้งสี่องค์นี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่า หลวงปู่ทวด( เหยียบน้ำทะเลจืด) วัดช้างไห้ถือว่าเป็นพระที่มีการจัดสร้างออกมาเป็นรูปธรรมมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นที่วัดช้างไห้เอง หรือวัดต่างๆ ในประเทศไทย ต่างมาขอพึ่งบารมีหลวงปู่ทวดเกือบทั้งนั้น หรือเอาง่ายๆเด็กสมัยใหม่ยังรู้จักหลวงปู่ทวดมากกว่าสมเด็จวัดระฆังหรือสมเด็จบางขุนพรหมเลย..พูดให้เป็นภาษาประกิตก็คือค่อนข้าง สากล แหละครับ

ด้วยการที่มีความเป็น สากล นี่แหละครับที่ส่งผลให้พระเครื่องหลวงปู่ทวดเป็นที่นิยมจัดสร้างกันทั่วไป วัดไหนๆ ก็สร้างกันได้  ตามความคิดของผมน่าจะมาจากการที่หลวงปู่ทวดท่านเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์ วัดต่างๆจึงนิยมสร้างหลวงปู่ทวดขึ้นเป็นวัตถุมงคลเพื่อให้คนนำไปสักการบูชา ป้องกันอันตรายให้กับตนเอง รวมไปถึงเป็นวิธีการจัดหาทุนในการสร้างหรือบูรณะถาวรวัตถุภายในวัด

ประเด็นมีอยู่ว่า...พระเครื่องหลวงปู่ทวดที่สร้างกันขึ้นมานั้นมีความขลังหรือมีความศักดิ์สิทธิ์เพียงไร?..

ซึ่งประเด็นนี้มีคำตอบแน่นอนคือ ขึ้นอยู่กับองค์อาจารย์ผู้สร้างว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด เพราะการสร้างพระเสกพระจะให้ขลัง ให้ศักดิ์สิทธิ์ องค์อาจารย์ผู้เสกต้องมีความสามารถอัญเชิญพระพุทธานุภาพ พระธรรมานุภาพ พระสังฆานุภาพและกฤตยาคมต่างๆ เข้าในวัตถุมงคลนั้นๆได้


พระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้..ถ่ายที่วัดเอี่ยมวรนุช




..

หากเราย้อนหลังไปดูประวัติการสร้างพระหลวงปู่ทวด มีการจัดสร้างอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ นับจนถึงปัจจุบันปี ๒๕๕๑ ก็เป็นเวลา ๕๔ ปี ซึ่งถือว่าไม่นานเท่าไรยังพอมีคนรู้คนเห็นจนถึงบางทีคนที่เคยร่วมสร้างอาจยังมีชีวิตอยู่ด้วย...และเมื่อเราศึกษาถึงการสร้างหลวงปู่ทวดอย่างถ้องแท้แล้วจะพบว่า ในวงการพระเครื่องจะให้ความนิยมและสนใจกับพระหลวงปู่ทวดที่สร้างจากพระอาจารย์สององค์คือท่านอาจารย์ทิม อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานีและท่านอาจารย์นอง อดีตเจ้าอาวาสวัดทรายขาว จังหวัดปัตตานี


..

..

ในอดีตสมัยท่านพระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ ยังมีชีวิตอยู่ พระอาจารย์นอง นับเป็นพระคู่ทุกข์คู่ยากของพระอาจารย์ทิมอย่างแท้จริง และสมัยนั้นมีพระอาจารย์อยู่สามองค์ที่เป็นสหธรรมมิกซึ่งกันและกันคือ ท่านพระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ เป็นพี่ใหญ่เนื่องจากอาวุโสสูงสุด ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อวัดนาประดู่ เป็นศิษย์น้องรองลงมา และท่านพระอาจารย์นอง วัดทรายขาว เป็นน้องเล็กสุดท้าย พระอาจารย์ทั้งสามท่านนี้ถือเสมือนหนึ่งเป็นพระพี่พระน้อง ร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วยกันมา พลังศรัทธาของประชาชนจึงมีให้ทั้งสามองค์นี้อย่างเท่าเทียมกัน....(ตามรูป)


 
..

ย้อนเวลาหาอดีตกลับไปในปี ๒๔๙๗ ครับในตอนสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวด เนื้อว่านรุ่นแรกนั้น..พระอาจารย์นองท่านเป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่งในการจัดหาว่านต่างๆมาให้พระอาจารย์ทิมสร้างพระ และเป็นกำลังสำคัญในการควบคุมการสร้างพระครั้งนี้...ประสบการณ์ในครั้งนั้นเสมือนเป็นประกาศนียบัตรรับรองความสามารถผ่านงานเสริมเข้ากับวิทยาคมที่ตัวท่านเองมีอยู่แล้ว..ส่งให้ท่านพระอาจารย์นองก้าวขึ้นทำเนียบพระเกจิอาจารย์แนวหน้าของเมืองไทยองค์หนึ่ง

ด้วยความนิยมของวงการพระเครื่องที่มีกับพระหลวงปู่ทวด เนื้อว่านรุ่นแรกส่งผลให้ราคาค่าบูชาที่เช่าหากันสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้คนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆหมดโอกาสในการเช่าหาและครอบครองพระเครื่องรุ่นแรกที่ท่านพระอาจารย์ทิมได้สร้างไว้ ดังนั้นพระหลวงปู่ทวดที่สร้างโดยท่านพระอาจารย์นอง จึงเป็นทางเลือกให้กับพวกเราอีกครั้ง

ท่านพระครูธรรมกิจโกศล หรือ ท่านพระอาจารย์นอง  ธมมภูโต เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อของจังหวัดปัตตานี ทำให้วัดต่างๆที่สร้างหลวงปู่ทวดต่างวิ่งหาเพื่อให้ท่านพระอาจารย์นองช่วยอธิษฐานจิตหรือปลุกเสกให้ ในจำนวนวัดต่างๆเหล่านี้วัดเอี่ยมวรนุช กรุงเทพมหานครรวมอยู่ด้วย ความสัมพันธ์ของวัดเอี่ยมวรนุชกับพระอาจารย์นอง มีให้กันมายาวนานตั้งแต่สมัยพระอาจารย์ทิมท่านยังมีชีวิตอยู่ โดยพระอาจารย์ทิมเมื่อท่านมากิจนิมนต์ที่กรุงเทพ ท่านก็จะมาพำนักอยู่ที่วัดเอี่ยมวรนุชแห่งนี้ และถ้าความทรงจำของผมไม่ผิดเพี้ยนมากนักพระอาจารย์ทิม ท่านก็มรณภาพที่วัดแห่งนี้ด้วย....
ความสัมพันธ์หรือความผูกพันธ์ครั้งนั้นสืบเนื่องมาจนถึงสมัยท่านพระครูธรรมกิจโกศล หรือพระอาจารย์นอง ธมมภูโต เจ้าอาวาสวัดทรายขาว(ในขณะนั้น) ซึ่งเป็นสหธรรมิกรุ่นน้อง ได้แผ่บารมีแผ่เมตตาเข้ามาโอบอุ้มรับสืบสานความช่วยเหลือแก่วัดเอี่ยมวรนุชเฉกเช่นเดี่ยวกันที่ท่านพระอาจารย์ทิมเคยปฏิบัติมา ดังนั้นพระหลวงปู่ทวด ที่ออกจากวัดเอี่ยมวรนุชจึงค่อนข้างมีความพิเศษอยู่ตรงนี้

พระรุ่นที่ผมจะพูดถึงนี้คือรุ่น บูรณะอุโบสถ วัดเอี่ยมวรนุช กรุงเทพมหานคร ซึ่งพระชุดนี้ท่านพระอาจารย์นอง ได้อนุญาตให้เข้าพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา หลังจากเสร็จงานมหาพุทธาภิเษกแล้วท่านพระอาจารย์นองยังรับเอาพระชุดนี้เข้าไปอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวอีกหลายเพลาที่เดียว (ตามรูป)









ที่ผมตัดสินใจเขียนเรื่องหลวงปู่ทวดที่ผ่านการปลุกเสกจากพระอาจารย์นองในตอนนี้เนื่องจากได้พูดคุยกับเพื่อนฝูงร่วมอุดมคติถึงราคาค่างวดในการเช่าหาพระหลวงปู่ทวด สายท่านพระอาจารย์นอง ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีราคาแพงขึ้นทุกขณะโดยไม่ต้องอิง กลไกทางการตลาด  เพียงแต่ผ่านขั้นตอนของศรัทธา อย่างเดียว ทุกชุดที่ท่านได้อธิษฐานจิตไว้เช่น ชุดแรกปี ๒๕๑๔ ปัจจุบันพิมพ์ใหญ่สวยๆ ต้องมี สามหมื่นบาทขึ้น หรือไล่ลำดับมาจนถึงรุ่นค่อนข้างสุดท้ายเช่นเนื้อว่านรุ่น มบ. ปี ๒๕๔๒ ที่สร้างเป็นกรณีพิเศษให้กับ ดร.ไมตรี บุญสูง ซึ่งประกอบพิธีพุทธาภิเษกไปเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ปัจจุบันสภาพพอสวยไม่ฝังตะกรุดก็ตกองค์ละเกือบสองพันบาท ถ้าฝังตะกรุด เรื่องราคาไม่ต้องพูดถึงเลย...ข่าวล่าสุดหนึ่งหมื่นสองพันบาทครับ..(ตลาดพันธุ์ทิพย์)
ปัจจุบันท่านพระอาจารย์นอง ได้ถึงแก่มรณภาพแล้วครับเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๒  เวลา ๐๓.๒๗ น. ณ.โรงพยาบาลโคกโพธิ์ สิริอายุ ๘๐ ปี ๖๐ พรรษา ได้รับพระราชทานเพลิง ณ เมรุวัดทรายขาว เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๕ ซึ่งแม้สังขารของท่านจะสลายไปแต่ความดี ของท่านที่มีอยู่มากมายส่งผลให้ท่านยังคงเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ยังอยู่ในความทรงจำของบรรดาลูกศิษย์ นอกจากนี้แล้วความเข้มแข็งในวิทยาคมยังส่งผลให้ท่านกลายเป็นตำนานบทหนึ่งคู่กับพระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ ใน "ฐานะพระผู้ก่อให้เกิดตำนานความศักดิ์สิทธิ์" ของพระเครื่องเมืองใต้ ที่แผ่บารมีความศักดิ์สิทธิ์ไปทั่วประเทศในนาม "หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้" แหละครับ...


..



..

..

ถึงตอนนี้ผมอยากให้เพื่อนๆลองย้อนกลับไปดูรายละเอียดของวัดเอี่ยมวรนุช รุ่นบูรณะอุโบสถ ซิครับ เห็นมั๊ยครับว่าเหมือนกันเพราะพระทั้งสองชุดนี้ผ่านพิธีเดียวกันครับ...แต่ราคาต่างกันลิบลับและที่สำคัญคือรุ่น มบ.ปัจจุบันหายากเย็นแสนเข็ญ เสี่ยงกับของเทียมลอกเลียนแบบ..แต่ของวัดเอี่ยมวรนุชกลับพบหาได้ทั่วไปตามแผงพระสามารถเช่าหาได้ในราคาไม่เกินห้าร้อยบาท (ขณะที่เขียนผมยังไม่ได้เข้าไปดูที่วัดเอี่ยมวรนุช สันนิษฐานว่าน่าจะยังมีหลงเหลือให้ทำบุญอยู่) ประการสำคัญคือของเทียมลอกเลียนแบบยังไม่ได้กำเนิดขึ้น.....

..

..

เขียนมาอย่างนี้ไม่อยากให้เพื่อนๆคิดว่านี่คือพระทางเลือก หรือพระที่นำมาแทนกันได้ ในความเป็นจริงแล้วผมคิดว่าไม่มีอะไรมาแทนซึ่งกันและกันได้ ทุกอย่างเป็นของเฉพาะสิ่ง เฉพาะอย่าง ขึ้นอยู่กับเราจะหยิบ จะชูหรือจะใช้สิ่งไหนให้ตรงให้เหมาะกับสภาพของตัวเราต่างหากจริงมั๊ยครับเพื่อน...แต่ของแพงๆ ให้ผมฟรีๆ ก็เอานะครับ ฮ่า..ฮ่า....สวัสดีครับ

ปล.รูปประกอบเรื่องจากนิตยสารปรกโพธิ์ สร้างสรรค์แต่สิ่งที่ดีงาม ด้วยความจริงใจ ....ฉบับที่ ๗๘ / ๓๐ เม.ย.-๓๐ มิ.ย. ๔๒  ขอบคุณครับ...


ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/sitthi/2008/04/29/entry-1


อัพเดท วันที่ 29/9/2554 ที่วัดเอี่ยมวรนุช ยังมีหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ และหลวงพ่อทวดวัดทรายขาว อาจารย์นอง ให้เช่าบูชาอยู่หลายรุ่นครับ ใครที่มีรถแนะนำว่า น่าบูชาไว้ในรถ เดินทางไปไหนอาราธนาท่านจะอุ่นใจและปลอดภัย เคยได้ยินคนเล่ากันว่า "ไม่เคยปรากฏแม้สักรายว่าเจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญูหรือปอเต็กตึ้งได้เก็บศพผู้ที่มีมงคลวัตถุหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด บูชาติดตัว" บางคนก็บอกว่า "แขวนหลวงปู่ทวด ไม่ตายโหง"  แต่ส่วนตัวแล้ว อุ่นใจทุกครั้งที่เดินทางครับ ใครเข้าโครงการรถคันแรกของรัฐบาล รถคันเล็กๆ เหล็กบางๆ อุปกรณ์ป้องกันน้อยๆ น่าจะอาราธนาท่านไว้หน้ารถครับ

อยากให้ได้ไปบูชากันครับ บางองค์ยังราคาเก่า เราๆท่านๆพอจะมีกำลังบูชากันได้ ที่สำคัญอยากให้คนเข้าวัดนี้เยอะๆ ตอนนี้ที่วัดเงียบสงบมากครับ ทั้งวัดมีพระอยู่ประมาณ 10 รูป ถ้าไปทำสังฆทานเจ้าอาวาสท่านให้พรดีมากๆ ครับ มีทั้ง ชินบัญชร พาหุง และคาถาอื่นๆ ที่แบบว่าผมฟังไม่ออก ทำบุญที่นี่แล้วรู้สึกดีครับ

วัดเอี่ยมวรนุช อยู่ตรงแยกบางขุนพรหม ตรงข้ามเยื้องๆ กับทางเข้าวัดสามพระยา ถนน สามเสน ประตูทางเข้าวัดเล็กๆ ถ้าจะเอารถเข้าไปในวัด ขอบอกว่าต้องตีวงตั้งแต่เลนสองไม่งั้นไม่พ้น อาจได้เสาประตูวัดติดรถกลับบ้านไปเป็นที่ระลึกครับ



ปล.คุณป้าขายดอกไม้หน้าวิหารหล่วงพ่อทวด บอกว่ารูปหล่อหลวงพ่อทวดในวัดให้หวยแม่นมากก อันนี้ต้องลองกันเองนะครับ ^^
.. .. ..
 

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

คำขอขมาลาโทษทั้ง ๓๑ ภูมิ

คำขอขมาลาโทษทั้ง ๓๑ ภูมิ

ของพระอาจารย์จำเนียร สีลเสฎฺโฐ วัดถ้ำเสือ อ.เมือง จ.กระบี่



กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ กรรมดีอันใด เป็นบุญกุศล ที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว ด้วยกาย วาจา ใจ ในอดีตชาติก็ดี ปัจจุบันชาติก็ดี ขอให้ถึง แก่ท่านทั้งหลาย ที่มีภพมีภูมิ มีชาติเป็นแดนเกิด มีชรามรณะ มีจิต มีชีวิต มีวิญญาณ มีขันธสันดาน มีวิบากแห่งกรรม มีการกระทำ เจ้ากรรมนายเวร เจ้าการบัญชี จตุโลกบาลทั้ง ๔ ยมบาล มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖ พรหม ๒๐ อบายภูมิทั้ง ๔ บัดนี้ข้าพเจ้า ได้สร้างกองการกุศล มีผลทานผลศีล ผลภาวนา ผลแผ่เมตตา ขอให้ถึง แก่ท่านทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า ได้ล่วงเกิน ทำกรรมไว้ ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี เจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี รู้ก็ดี ไม่รู้ก็ดี ต่อหน้ากันก็ดี ลับหลังกันก็ดี ขอให้ท่านทั้งหลาย จงอโหสิกรรม ให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป อย่ามีเวรภัย เกิดชาติหนึ่งภพใด ขอให้ได้สร้าง แต่กรรมดี สร้างบารมีของตน ให้พ้นภัยพาล ลุล่วงบ่วงมาร ในอนาคตกาล อันใกล้นี้ ด้วยเทอญ

ข้าพเจ้าคิดจะประกอบกิจการอันใด ที่ไม่ผิดทำนองคลองธรรม ขอให้สำเร็จสมปรารถนา เป็นอัศจรรย์ เหนือมนุษย์ทั้งปวง

พระคาถาเมตตาหลวง ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

พระคาถาเมตตาหลวง (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

พระญาณสิทธาจารย์ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

วิธีการสวด
ให้ไหว้พระ อรหัง สัมมาสัมพพุทโธ , นโม ๓ จบ , พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ฯลฯ เป็นคำเริ่มต้นก่อน

คำสวดให้เมตตาตน
อะหัง สุขิโต โหมิ
นิททุกโข โหมิ
อะเวโร โหมิ
อัพพะยาปัชโฌ โหมิ
อะนีโฆ โหมิ
สุขี อัตตานัง ปริหะรามิ


อานิสงส์เมตตาพระท่านบอกไว้ว่า สุขัง สุปติ หลับตื่นชื่นตา เสวยสุขอนันต์ ไมฝันลามกร้ายกาจ ปีศาจมนุษย์ชื่นชมหฤหรรษ์ เทวาทุกชั้นช่วยชูรักษา หอก ดาบ ยาพิษ ไฟลุก เข้ามา ครั้นถึงองค์พระโยคาย้อนกลับยับเป็นผง ใจร้ายใจบาปสันดานชั่วหยาบ ระงับดับลงด้วยพรหมวิหารา องค์พระโยคาสุกใส ใครเป็นพิศวง เมื่อตายไปไม่หลงเหมือนคนสามานย์ ส่งผลถึงอัครฐานตราบเท่านิพพานแล




๑.คำสวดแผ่เมตตา (ย่อ)
๑.สัพเพ สัตตาอะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๒.สัพเพ ปาณาอะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ
๓.สัพเพ ภูตาอะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ
๔.สัพเพ ปุคคะลาอะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ
๕.สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนาอะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ
๖.สัพพา อิตถิโยอะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ
๗.สัพเพ ปุริสาอะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ
๘.สัพเพ อะริยาอะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ
๙.สัพเพ อะนะริยาอะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ
๑๐.สัพเพ เทวาอะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ
๑๑.สัพเพ มนุสสาอะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ
๑๒.สัพเพ วินิปาติกาอะเวรา อัพพะยาปัชณา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ


๒.คำสวดแผ่กรุณา (ย่อ)
๑.สัพเพ สัตตาสัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๒.สัพเพ ปาณาสัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๓.สัพเพ ภูตาสัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๔.สัพเพ ปุคคะลาสัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๕.สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนาสัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๖.สัพพา อิตถิโยสัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๗.สัพเพ ปุริสาสัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๘.สัพเพ อะริยาสัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๙.สัพเพ อะนะริยาสัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๑๐.สัพเพ เทวาสัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๑๑.สัพเพ มนุสสาสัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๑๒.สัพเพ วินิปาติกาสัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ


๓.คำสวดแผ่มุทิตา (ย่อ)
๑.สัพเพ สัตตาลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๒.สัพเพ ปาณาลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๓.สัพเพ ภูตาลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๔.สัพเพ ปุคคะลาลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๕.สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนาลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๖.สัพพา อิตถิโยลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๗.สัพเพ ปุริสาลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๘.สัพเพ อะริยาลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๙.สัพเพ อะนะริยาลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๑๐.สัพเพ เทวาลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๑๑.สัพเพ มนุสสาลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๑๒.สัพเพ วินิปาติกาลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ


๔.คำสวดแผ่อุเบกขา (ย่อ)
๑.สัพเพ สัตตากัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๒.สัพเพ ปาณากัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๓.สัพเพ ภูตากัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๔.สัพเพ ปุคคะลากัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๕.สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนากัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๖.สัพพา อิตถิโยกัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๗.สัพเพ ปุริสากัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๘.สัพเพ อะริยากัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๙.สัพเพ อะนะริยากัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๑๐.สัพเพ เทวากัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๑๑.สัพเพ มนุสสากัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๑๒.สัพเพ วินิปาติกากัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะ พันธุ กัมมะปะฏิสะระณา ยัง, กัมมัง , กะริสสันติ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ


พระพุทธมหาสุวรรณปฎิมากร (หลวงพ่อทองคำ) วัดไตรมิตร

พระพุทธมหาสุวรรณปฎิมากร

ท่ามกลางกระแสธารแห่งอารยธรรมตั้งแต่อดีตจวบปัจจุบัน ปรากฏร่องรอยหลักฐานความเจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องมาอย่างไม่ขาดสาย มรดกทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม สะท้อนให้เห็นความรุ่งโรจน์แห่งอารยธรรมไทยแต่ครั้งโบราณกาล ดังที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสือ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ซึ่งทรงตรวจสอบค้นคว้าด้านโบราณคดีเกี่ยวกับ “สุโขทัย” ความว่า




ประวัติความเป็นมา
       แต่เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ถูกพอกปิดด้วยปูนทั่วทั้งองค์ พุทธลักษณะภายนอกไม่งดงามหรือโดดเด่น จากหลักฐานที่ปรากฏพบว่า เคยประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดโชตินาราม หรือวัดพระยาไกร มาตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

      ต่อมาวัดพระยาไกรขาดคนบูรณปฏิสังขรณ์ จึงตกอยู่ในสภาพรกร้าง ราว พ.ศ. ๒๔๗๔ บริษัท อีสต์เอเซียติก จำกัด ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทานป่าไม้ ได้ขอเช่าที่จากรัฐบาล เข้าจัดสร้างโรงเลื่อยไม้ขนาดใหญ่ในบริเวณวัดร้างแห่งนี้ มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดทรุดโทรมของวัดพระยาไกรออกจนเหลือแต่พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่

      ในขณะนั้น “วัดสามจีน” ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวัดไตรมิตรวิทยาราม กำลังอยู่ในระหว่างการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ทั่วทั้งพระอาราม โดยสร้างวิหารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปเพิ่มเติม สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เจ้าคณะแขวงล่าง เห็นว่า จะปล่อยองค์พระพุทธรูปปูนปั้นให้อยู่ที่เดิมต่อไปจะเป็นการไม่สมควร ประกอบกับวัดสามจีน มีสถานที่กว้างขวางเหมาะสมกับการประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ จึงมอบให้คณะกรรมการวัดสามจีน อันประกอบด้วย พระมหาเจียม กมโล, พระมหาไสว ฐิตวีโร (พระวิสุทธาธิบดี), น.อ. หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย), ร.น. หลวงบริบาลเวชกิจ (ยู้ ลวางกูล), นายสนิท เทวินทรภักดี ร่วมกันอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้จากวัดพระยาไกรมาประดิษฐานยังวัดสามจีน



ภาพพระพักษร์ของหลวงพ่อสุโขทัยไตรมิตร ภาพเล็กคือขณะที่ยังถูกหุ้มด้วยปูนปั้น ภาพใหญ่คือภาพในปัจจุบัน



จากพระพุทธรูปปูนปั้น สู่ "พระพุทธพุทธรูปทองคำ"
       พระพุทธรูปปูนปั้นจึงถูกอัญเชิญมาตั้งแต่นั้น โดยในขณะที่ยังบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามไม่แล้วเสร็จ คณะกรรมการวัดได้ประดิษฐานองค์พระพุทธรูปไว้ข้างเจดีย์เป็นการชั่วคราว ในระหว่างนี้ มีผู้มาขออัญเชิญไปประดิษฐานยังวัดต่าง ๆ มากมาย แต่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ การก่อสร้างพระอาราม พระวิหารต่าง ๆ ในวัดสามจีน ใช้เวลาเนิ่นนาน จนล่วงเลยไปถึง ๒๐ ปี ใน พุทธศักราช ๒๔๙๘ การบูรณะจึงเสร็จสิ้นเรียบร้อย

       เมื่อทุกอย่างสมบูรณ์พร้อม ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธาธิบดี (ไสว ฐิตวีรมหาเถระ ป.ธ.๗) เจ้าอาวาสซึ่งขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระวีรธรรมมุนี ผู้ดำเนินการสร้างวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นจนแล้วเสร็จ ได้เป็นแม่กองเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปปูนปั้นองค์นี้ เพื่อนำขึ้นประดิษฐานยังพระวิหารซึ่งตรงกับวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ การเคลื่อนย้ายเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากองค์พระมีขนาดใหญ่ และหนักมาก ต้องใช้ปั้นจั่นยกองค์พระพุทธรูป ในขณะทำการยกนั้น ปรากฏว่า ลวดสลิงที่ยึดองค์พระเกิดขาดเพราะทานน้ำหนักองค์พระไม่ไหว องค์พระพุทธรูปจึงตกลงกระแทกบนพื้นอย่างแรง พอดีกับเวลานั้น เป็นเวลาใกล้ค่ำ และฝนก็บังเอิญตกอย่างหนัก การอัญเชิญพระพุทธรูปในวันนั้น จึงเป็นอันต้องหยุดชะงักลง

       ในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น ท่านเจ้าอาวาส ได้มาตรวจดูองค์พระ เพื่อหาทางอัญเชิญขึ้นประดิษฐานใหม่ ก็ได้พบเห็นรอยแตกที่พระอุระ และเห็นรักที่ฉาบผิวองค์พระด้านใน เมื่อแกะรักออก ก็ได้พบเนื้อทองคำบริสุทธิ์งามจับตาอยู่ชั้นในสุด ท่านเจ้าอาวาส จึงสั่งการระดมผู้คนช่วยกันกะเทาะปูน และลอกรักออกหมดทั้งองค์ ความงดงามแห่งเนื้อทองบริสุทธิ์ขององค์พระปฏิมาจึงปรากฏให้เห็นพร้อมพุทธลักษณะที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง กลายเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สกุลช่างสุโขทัย ที่งดงามจับตาจับใจผู้พบเห็นยิ่งนัก

       ความยากลำบากในการเคลื่อนย้ายหมดสิ้นลงเมื่อมีการคุ้ยดินใต้ฐานทับเกษตรออก และพบกุญแจกลสำหรับถอดองค์พระออกเป็นส่วน ๆ ได้ ๙ ส่วน เพื่อสะดวกต่อการอัญเชิญขึ้นประดิษฐานยังพระวิหาร จึงดำเนินการถอดองค์พระออกแต่เพียง ๔ ส่วน คือ ส่วนพระศอ ส่วนพระหัตถ์ทั้ง ๒ ข้าง และส่วนพระนาภี ทำให้สามารถอัญเชิญพระพุทธรูปทองคำองค์นี้ ขึ้นประดิษฐานยังพระวิหาร ซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้จัดเตรียมไว้โดยราบรื่น





พระพุทธรูปทองคำ หลังจากได้กระเทาะปูนปั้นออกจนหมดแล้ว

ที่สุดของไทย ที่สุดของโลก
       การค้นพบพระพุทธรูปทองคำปางมารวิชัยของวัดไตรมิตรวิทยารามในครั้งกระนั้น ได้เป็นข่าวสำคัญอย่างอึกกะทึกครึกโครมไปทั่วทั้งประเทศ หนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ หลายฉบับ ต่างก็พากันประโคมข่าวกันอย่างกว้างขวาง ท่ามกลางความปลื้มปีติยินดีของพุทธศาสนิกชนทั่วหน้า มีการตรวจสอบ และประเมินเนื้อทองขององค์พระพุทธรูปซึ่งเป็นทองคำบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองเนื้อเจ็ด น้ำสองขา (มาตราทองคำของไทยโบราณตั้งไว้ตั้งแต่ทองเนื้อสี่ คือทองหนัก ๑ บาท จะมีค่า ๔ บาท ทองเนื้อเจ็ด คือทองหนัก ๑ บาท จะมีค่า ๗ บาท ซึ่งเป็นทองที่มีค่าของเนื้อทองรองจากทองนพคุณหรือทองเนื้อเก้า ซึ่งทองเนื้อเก้าจะเริ่มพบที่บางตะพานในแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ เรียกกันว่าทองคำบางตะพาน ส่วนคำว่าสองขาหมายถึง ๒ สลึง) มีน้ำหนักกว่า ๕ ตัน คิดเป็นน้ำหนักทองคำ ๒๕,๐๐๐ ปอนด์ หรือคิดเป็นมูลค่าเฉพาะเนื้อทองคำในขณะนั้น (พ.ศ. ๒๔๙๘ ) ๑๔ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ ๒๙๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองร้อยเก้าสิบสี่ล้านบาท) อันเป็นราคาทองคำที่ถูกประเมินในครั้งแรก

       พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร หรือ พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร นับเป็น “พระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก” หนังสือกินเนสบุ๊ค ฉบับปี ค.ศ. ๑๙๙๑ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ได้ทำการประเมินค่าอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๙๐ (พ.ศ. ๒๕๓๓) และบันทึกไว้ว่า เป็นพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีมูลค่าเฉพาะเนื้อทองคำสูงถึง ๒๑.๑ ล้านปอนด์ แล้วบันทึกลงเป็นข้อความว่า



Highest intrinsic value is the 15th-century gold Buddah in Wat Trimitr Temple in Bangkok, Thailand. It is 3-04 m 10 ft tall and weighs an estimated 51/2 tonnes. At the April 1990 price of $ 227 per fine ounce, its intrinsic worth was $ 21.1 million. The gold under the plaster exterior was found only in 1954.
ข้อความที่ได้รับการบันทึกไว้ในหนังสือ กินเนสบุ๊ก ออฟ เดอะ เวิร์ด เรคคอร์ด



ก่อนจะมาเป็น "พระพุทธพุทธรูปทองคำ"
       องค์พระพุทธรูปทองคำที่ถูกค้นพบ เป็นพุทธศิลปะสุโขทัยที่งดงามมาก ผู้เชี่ยวชาญทางพุทธปฏิมากรรมกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีความงดงามถึงจุดสุดยอดในกระบวนฝีมือสกุลช่างสุโขทัย ซึ่งในการจัดแบ่งศิลปะพระพุทธรูปสุโขทัยของ เอ.บี.กริสโวลด์ (A.B. Giswold ) นั้น ได้แบ่งศิลปะออก เป็น ๓ หมวด คือ ๑. ก่อนคลาสสิก ๒. คลาสสิกบริบูรณ์ และ ๓. หลังคลาสสิก พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตรนี้ นับเป็นศิลปะแบบคลาสสิคบริบูรณ์ อันเป็นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุดของสกุลช่างสุโขทัย มีอายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ต่อต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙

       ทองคำนับเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ถูกนำมาใช้ในสังคมสยามแต่โบราณ ในสมัยสุโขทัยนั้น จากข้อมูลทางธรณีวิทยาพบว่า มีแหล่งแร่ทองคำบริเวณลำห้วยแม่ปอย เขตอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองศรีสัชชนาลัยเพียง ๒๕ กิโลเมตร มีการค้นพบเหมืองแร่โบราณในบริเวณดังกล่าว แม้จะมีสายแร่ทองคำเนื้อธรรมชาติไม่มากนัก แต่นับเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงการนำทองคำมาใช้ในสังคมสุโขทัยได้อย่างชัดเจน

        ในศิลาจารึกหลักที่ ๕ วัดป่ามะม่วง กล่าวถึง การบำเพ็ญบุญของพระมหาธรรมราชา โดยทรง “กระยาทานคาบนั้นทองหมื่นหนึ่ง เงินหมื่นหนึ่ง เบี้ยสิบล้าน...” สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของทองคำในสมัยนั้นในกลุ่มชนชั้นสูง โดยเฉพาะกษัตริย์ มักจะนิยมสร้างพระพุทธรูปหรือโบราณวัตถุที่สำคัญทางพุทธศาสนาจากทองคำบริสุทธิ์ โดยทรงเป็นศูนย์กลางการดำเนินการ เช่น การสร้างสำเภาทองลอยพระธาตุ ดังความที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารเหนือ ความว่า

        “....เชิญพระธาตุมาถึงเมืองแล้ว พระธรรมราชาเจ้าจึงป่าวร้องแก่คนทั้งหลายผู้ศรัทธาก็เอาทองมาประมวลกันได้ ๒,๕๐๐ ตำลึงทอง ให้ช่างตีเป็นเภาเภตรา จึงใส่พระธาตุพระพุทธเจ้าลอยอยู่ในน้ำบ่อ...

        ในการสร้างพระพุทธรูปสำคัญ สังคมสุโขทัยจะใช้ลักษณะดังกล่าว และพระมหากษัตริย์จะทรงเป็นศูนย์กลางแห่งการสร้าง และใช้วิธี “ป่าวร้องแก่คนทั้งหลายผู้ศรัทธา” หรือให้หัวเมืองภายใต้พระราชอำนาจส่งมอบวัตถุดิบในการจัดสร้างโดยมี “ช่างหลวง” เป็นผู้ดำเนินการ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ การสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารเหนือ ความว่า

        “...พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกจึงรำพึงในพระทัยจะใคร่สร้างพระพุทธรูปให้แล้วด้วยสัมฤทธิ์ ครั้นพระองค์รำพึงแล้วจึงให้หาช่างได้บาพิศณุคนหนึ่ง บาพรหมคนหนึ่ง บาธรรมราชคนหนึ่ง บาราชกุศลคนหนึ่ง ได้ช่างมาแต่เมืองสัชนาไลย ๕ คน มาแต่เมืองหริภุญไชยคนหนึ่ง เป็นช่าง ๖ คน จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งช่างทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายให้ชวนกันรักษาศีล ๕ ประการอย่าให้ขาด ครั้นสั่งช่างแล้วจึงพระราชทานรางวัลแก่ไพร่ทั้งหลายให้ขนดินแลแกลบให้แก่ช่าง ช่างจึงประสมดินปั้นเป็นพระพุทธเจ้าสามรูปตามมีพระราชโองการตรัสสั่งนั้น ให้เหมือนพิมพ์เดียวแลใหญ่น้อยเท่ากัน ครั้นเป็นเบ้าคุมพิมพ์แล้วท้าวพระยาทั้งหลายก็นำเอาทองสัมฤทธิ์มาถวายแก่พระองค์เจ้า ชวนกันหล่อพระพุทธรูปเป็นอันมาก แลช่างหล่อชวนกันกินบวชเจ็ดวัน ก็ทำพลีกรรมแก่เทวดาทั้งเจ็ดทิศ ครั้นได้ฤกษ์ดีจึงเอาพิมพ์เข้าเตา...

        กรรมวิธีการหล่อพระพุทธรูปในสมัยโบราณนั้น อาจแบ่งออกได้เป็น “ฝีมือช่างราษฎร์” กับ “ฝีมือช่างหลวง” ฝีมือช่างราษฎร์ จะเป็นกลุ่มของชาวบ้านที่มีศรัทธาจะสร้างพระพุทธปฏิมาส่วนใหญ่มิได้เคร่งครัดในส่วนผสมของโลหะเท่าใดนัก เมื่อทราบข่าว จะมีการหลอมหล่อพระพุทธรูป มักจะนำโลหะมีค่าจากบ้านเรือนของตนมาเป็นวัตถุดิบร่วมทำบุญสร้างพระพุทธรูป ช่างผู้ซึ่งดำเนินการจะนำหุ่นขี้ผึ้งที่ปั้นไว้ตั้งเอาหัวลง เมื่อเทน้ำโลหะลงไปธาตุที่หนักที่สุดซึ้งได้แก่ ทองคำ จะลงไปตกตะกอนอยู่ในส่วนล่างสุด คือ ส่วนเศียรพระพุทธรูป ดังนั้น พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ส่วนใหญ่ จะมีพระเศียรเปล่งปลั่งสุกใสกว่าส่วนอื่น


        ส่วนการหล่อโดยฝีมือช่างหลวงนั้น จะเน้นอัตราส่วนผสมของโลหะเป็นพิเศษ กรรมวิธีโดยทั่วไปคล้ายคลึงกัน หากเพิ่มความละเอียดประณีตโดยเริ่มจากการ “ ขึ้นหุ่น” หรือ “ปั้นหุ่น” ชั้นในขององค์พระด้วยดินเหนียวผสมทราย แกลบ ตามส่วน ดินที่มีมักนิยมใช้เรียกว่า “ดินขี้งูเหลือม” มีสีเหลือง โดยกำหนดสัดส่วนไว้สำหรับหุ้มขี้ผึ้งอีกชั้นหนึ่ง หลังจากนั้นใช้ขี้ผึ้งผสมกับชันเพื่อให้แข็งตัวมาตีแผ่ออกเป็นแผ่นหนาเท่ากับเนื้อทองที่ต้องการนำแผ่นขี้ผึ้งหุ้มรูปหุ่นให้หมดทั้งองค์ ลงมือปั้นแต่ขี้ผึ้งให้ประณีต ฝีมือช่างจะแสดงออกมาจากการปั้นขี้ผึ้ง

        หลังจากนั้นจะมีการติด “สายชนวนขี้ผึ้ง” เพื่อช่วยให้ทองแล่นได้ตลอด โดยต้องคำนึงถึงช่องว่างที่จะเป็นส่วนให้อากาศภายในระบายออกได้ทันเมื่อเททอง ก่อนที่จะนำเอาขี้วัวละเอียดผสมกับดินนวลทาลงบนหุ่นขี้ผึ้งเพื่อให้ผิวทองเรียบงาม หลังจากนั้นใช้ดินอ่อนฉาบรักษาดินขี้วัวไว้แล้วใช้ดินที่ปั้นหุ่นองค์พระชั้นในพอกทับอีกชั้นหนึ่ง

        จากนั้นช่างผู้ทำการหล่อพระพุทธรูป จะทำการตรึงหมุดเหล็ก หรือ “ทวย” คือการแทงเหล็กแหลมเข้าไปในหุ่นขี้ผึ้งให้ทะลุเข้าไปถึงชั้นในเพื่อยึดโครงสร้างองค์พระให้แข็งแรง มิให้แตกร้าวขณะเททอง ก่อนที่จะใช้เหล็กมัดเป็นโครงหุ้มดินพอกไว้อีกชั้นหนึ่ง ที่เรียกว่า “รัดปลอก”

        ต่อจากนั้นจะทำการพลิกเศียรพระพุทธรูปลงดิน เอาฐานองค์พระขึ้น โดยใช้นั่งร้านยกพื้นไม้ให้รอบสำหรับเดินเททอง ค้ำยันหุ่นด้วยเหล็กให้แน่นหนา แล้วจึงเริ่มสุมไฟเผาหุ่นไล่ขี้ผึ้งรอบองค์พระ ในขณะเดียวกันก็เริ่ม “สุมทอง” ที่เตรียมไว้พร้อมกันไปด้วย โดยมีเบ้าหลอมต่างหาก

        เมื่อขี้ผึ้งละลาย หรือที่เรียกกันว่า “สำรอก” จึงเริ่มเททอง น้ำทองจะไหลลงไปแทนที่ขี้ผึ้งรอบองค์พระ โดยเดินเททองบนนั่งร้านกรอกลงไปตามสายชนวนขี้ผึ้งรอบองค์พระ โดยเดินเททองบนนั่งร้านกรอกลงไปตามสายชนวนขี้ผึ้งติดเอาไว้ก่อนแล้วนั้น ช่องหรือสายชนวนนี้จะเปรียบเสมือนท่อน้ำทองให้ไหลไปทั่วองค์พระปฏิมา

        เมื่อเททองสมบูรณ์แล้วจะปล่อยให้หุ่นพิมพ์เย็นลงแล้วจึงแกะดินที่ปั้นเป็นหุ่นออกให้หมด ยกองค์พระให้ตั้งขึ้นเริ่มขัดถูผิวให้เรียบตัดหมุดหรือ “ทวย” รวมทั้งสายชนวนออก หากมีตำหนิก็จะมีการนำเศษทองที่เหลือตอกย้ำให้เสมอกัน หากปรากฏเป็นช่องว่างมากก็เททองเพิ่มให้เต็มที่เรียกว่า “เทดิบ” บางครั้งจะใช้ยาซัดโลหะตามกรรมวิธีโบราณผสมลงในเบ้าหลอมด้วยเพื่อซัดเศษโลหะออกจากน้ำทอง ซึ่งจะทำให้ได้เนื้อโลหะบริสุทธิ์

        ในบางครั้งจะมีการลงรักปิดทองจนทั่วองค์พระ โดยใช้ “รักสมุก” คือรักผสมผงถ่านบดละเอียด ป้ายรักสมุกเข้ากับองค์พระให้ทั่วและเรียบทิ้งไว้ให้แห้ง ก่อนขัดด้วยหินละเอียด จากนั้นชะโลมด้วย “ รักน้ำเกลี้ยง” และใช้ “รักเช็ด” ทาองค์พระเพื่อปิดทองอีกครั้งหนึ่ง

        พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปที่เกิดจากการสร้างในลักษณะดังกล่าวโดยฝีมือ “ช่างหลวง” ที่มีฝีมือการหล่อพระถึงขึ้นสุดยอด ทำให้ได้องค์พระซึ่งมีพุทธลักษณะงดงามทองคำแล่นบริบูรณ์ตลอดองค์ โดยใช้เนื้อทองคำธรรมชาติบริสุทธิ์ที่เรียกกันว่าทองเนื้อเจ็ด น้ำสองขา และแสดงให้เห็นถึงความแยบยล สามารถถอดองค์พระออกเป็นส่วน ๆ ได้ถึง ๙ ส่วน โดยมีกุญแจกลเป็นเครื่องมือในการถอดประกอบ นับเป็นฝีมือช่างชิ้นเอกอันยากจะหาฝีมือสกุลช่างใดทัดเทียมได้



นายช่างกำลังกระเทาะปูนปั้นออกจากพระเศียรพระพุทธรูปทองคำ


หลักฐานทางประวัติศาสตร์
       จากหลักฐานที่ปรากฏในปัจจุบัน ทำให้อาจสันนิษฐานได้ว่า พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตรเดิมเคยประดิษฐานที่วัดมหาธาตุ เมืองเก่าสุโขทัย โดยมีข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๒ กล่าวถึง “ พระพุทธรูปทอง” ความว่า

       “...กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารส มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม...

       กลางเมืองสุโขทัยที่ปรากฏในจารึก หมายถึงวัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางศาสนาและสังคมของสุโขทัยในอดีต โดยเฉพาะศาสนามีความรุ่งเรืองมากในสมัยพระธรรมราชาลิไท ซึ่งนักวิชาการในปัจจุบันสันนิษฐานว่าเป็นผู้แต่งศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๒

        จากข้อความในศิลาจารึกซึ่งสันนิษฐานว่าเขียนขึ้นหลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้นวัดมหาธาตุเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปต่าง ๆ มีพระพุทธรูปทอง พระอัฏฐารส หรือพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ และพระพุทธรูปต่าง ๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยในหนังสือ "เที่ยวเมืองพระร่วง" ความว่า

        “...ตรวจดูคำจารึกหลักศิลาของพระเจ้ารามคำแหง...ดู ก็น่าจะสันนิษฐานว่ากล่าวถึงวัดมหาธาตุนี้ “พิหารมีพระพุทธรูปทอง” นั้นน่าจะเป็นวิหารหลวงซึ่งประดิษฐานพระศรีศากยมุนี..

        พระศรีศากยมุนี เป็นพระพุทธรูปองค์ประธานในวิหารวัดมหาธาตุสุโขทัย ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ยังวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร ในรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งวิหารดังกล่าวเป็นวิหารหลวง เรียกว่าวิหารเก้าห้อง มีเสาศิลาเหลี่ยมขนาดใหญ่ค้ำเครื่องบน ซึ่งปัจจุบันปรักหักพังหมดแล้ว หากพิจารณาสภาพที่ปรากฏประกอบศิลาจารึกที่ ๑ จะพบแท่นรองพระพุทธรูปนอกเหนือจากองค์ประธาน ลดหลั่นกันไป จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า พระพุทธรูปทองที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้น น่าจะเป็นพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ มากกว่าจะเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ซึ่งพระพุทธรูปทองคำดังกล่าว ก็คือ พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร ในปัจจุบันนั่นเอง

        นอกจากศิลาจารึกหลักที่ ๑ แล้ว ยังมีหลักฐานที่กล่าวถึงพระพุทธรูปทองคำในสมัยสุโขทัยอีก เช่น ในศิลาจารึกบางหลักกล่าวการสร้างพระพุทธรูปทอง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท หรือในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงด้านที่ ๓ กล่าวถึงการออกผนวชของพระองค์ ซึ่งประกอบพระราชพิธีต่อหน้าพระพุทธรูปทองคำ ดังความว่า
 
              “ ...พระยาศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช...
              หากสมาทานทศศีลเป็นดาบส...
              หน้าพระพุทธรูปทองอันประดิษฐานไว้
              เหนือราชมณเทียรอันตนแต่ง...
              ...เมื่อจัก...ศีลนั้น พระยาศรีสุริ(ย)
              พงศ์ราม(มหา) ธรรมราชาธิราช
              จึงจักยืนยอมือนบพระพุทธทอง
              นบทั้งพระปิฎกไตร..

        จากหลักฐานที่ปรากฏ อาจกล่าวได้ว่า พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ความประณีตของพุทธศิลปะ ความแยบยลของส่วนประกอบที่ทำเป็นกุญแจกล ความทรงค่ามหาศาลของเนื้อทองคำบริสุทธิ์ เป็นสิ่งซึ่งยากจะหาผู้ใดทำขึ้นได้นอกจากพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ผู้ซึ่งมีพระบรมโพธิสมภารอันยิ่งใหญ่ จึงจะสามารถหล่อสร้างเป็นองค์พระปฏิมาที่ประเสริฐล้ำเลิศเช่นนี้ได้สำเร็จ

        องค์พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตรถูกหุ้มห่ออยู่ในปูนเป็นระยะเวลายาวนาน อาจกล่าวได้ว่า ผู้คนสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อน พ.ศ. ๒๔๙๘ มิได้ทราบเลยว่า ภายในพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ได้ซุกซ่อนพุทธปฏิมาอันงามล้ำเลิศและทรงค่ามหาศาล

        การพอกปูนปิดองค์พระสำคัญไว้ เป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของผู้คนในสังคมไทยสมัยก่อน ที่ต้องการพิทักษ์ปกป้ององค์พระพุทธรูปและพุทธศาสนาไว้จากภัยอันตรายต่าง ๆ ซึ่งจะพบเห็นชัดเจนในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองที่พม่าได้สุมไฟลอกเอาทองจากองค์พระศรีสรรเพชญไปจนหมดสิ้น ผู้คนได้พยายามปกปิดหรือเคลื่อนย้ายองค์พระสำคัญ ๆ หลายต่อหลายองค์ จนเกิดเป็นตำนานพระพุทธรูปลอยน้ำ ที่ชาวบ้านช่วยกันนำองค์พระใส่แพไม้ไผ่อพยพหลบหลีกข้าศึก

       สำหรับ “หลวงพ่อทองคำ” องค์นี้ มีข้อสันนิฐานว่า การพอกปูนปิดองค์พระพุทธรูปคงจะกระทำขึ้นก่อนการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ในพ.ศ. ๒๓๒๕ และอาจตั้งข้อสังเกตได้ว่า ในราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยาทุกฉบับ รวมทั้งเอกสารสมัยอยุธยาไม่มีข้อความที่กล่าวถึงพระพุทธรูปทองคำองค์นี้เลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการพอกปูนปิดองค์พระอาจกระทำมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเริ่มถูกครอบงำจากอำนาจของกรุงศรีอยุธยา และเสื่อมอำนาจลงอย่างสิ้นเชิงในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงเป็นไปได้ที่คนสมัยกรุงศรีอยุธยาอาจพบเห็นเพียงองค์พระปูนปั้นประดิษฐานอยู่ในวัดมหาธาตุ สุโขทัย เรื่อยมา
                    จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นสมัยที่มีการอัญเชิญพระพุทธรูปจากหัวเมืองต่าง ๆ มายังกรุงเทพมหานคร มากกว่า ๑,๒๔๘ องค์(หนึ่งพันสองร้อยสี่สิบแปดองค์) พระพุทธรูปปูนปั้นที่หุ้มองค์หลวงพ่อสุโขทัยไตรมิตรไว้ คงจะถูกอัญเชิญมาในคราวเดียวกันนี้ ซึ่งมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดฯ ให้อัญเชิญพระศรีศากยมุนี พระประธานวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย มาประดิษฐานที่วัดสุทัศนเทพวราราม และมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดฯ ให้ประดิษฐานพระพุทธรูปจากหัวเมืองต่าง ๆ ไว้ ณ พระระเบียงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ที่ทรงบูรณปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นใน พ.ศ. ๒๓๔๔ พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยไตรมิตรในลักษณะการปูนปั้นปิดองค์พระคงจะประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ ก่อนที่จะถูกอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดพระยาไกรในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว




ภาพสมเด็จย่าทรงพิจารณาพระเกตุมาลาของหลวงพ่อทองคำ


"พระพุทธพุทธรูปทองคำ" ความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ
       ในปัจจุบัน พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือ พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร หรือเรียกกันในภาษาชาวบ้านว่า "หลวงพ่อทองคำ" ประดิษฐานอยู่ ณ พระมหามณฑปเฉลิมพระเกียรติ วัดไตรมิตรวิทยาราม เลขที่ ๖๖๑ ถนนเจริญกรุง เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่พากันหลั่งไหลกันเข้ามาชมความงดงามแห่งองค์พระปฏิมาที่ทำจากเนื้อทองคำบริสุทธิ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอันประเมินค่ามิได้

       นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวไทยทั้งประเทศต่อมรดกแห่งอารยธรรมไทยที่ยิ่งใหญ่งดงาม อันเป็นประจักษ์พยานถึงความรุ่งโรจน์แห่งพุทธศิลปะ ฝีมือช่าง และพลังแห่งศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาที่สืบเนื่องเรื่อยมาจากอดีตจวบปัจจุบัน และเรื่อยไปยังอนาคตกาล ฯ


ความภาคภูมิใจของคนไทยทั่วแผ่นดิน
จาก : ประวัติพระพุทธรูปทองคำ ฉบับคณะกรรมการแผนกตำรา
ที่มา : http://www.wattraimit.com









พระไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศวิหาร



คาถาบูชาพระไพรีพินาศ
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ           สุจิรํ ปรินิพฺพุโต
คุเณหิ ธรมาโนทานิ            ปารมีหิ จ ทิสฺสติ
ยาวชีวํ อหํ พุทธํ                  ธมฺมํ สงฺฆํ สรณํ คโต
ปูเชมิ รตนตฺตยํ                    ธมฺมํ จรามิ โสตฺถินา.

 

พระไพรีพินาศ เป็นพระพุทธรูปศิลาขนาดย่อม  มีขนาดหน้าพระเพลา๓๓ เซนติเมตร  เป็นพระพุทธรูปแบบธยานิพุทธเจ้า ปางประทานพร  สมัยศรีวิชัย แต่นักสังเกตบางคนสงสัยว่า พระพุทธรูป สมัยศรีวิชัย มีเพียงเกตุมาลา เป็นจอมคล้ายสมัยทราวดีเป็นพื้น”  พระพุทธรูปองค์นี้ มีผู้นำมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อยังทรงผนวชอยู่ ราว
 พ.ศ.๒๓๙๑ ได้ถวายพระนามว่า พระไพรีพินาศ  
ซุ้มเก๋ง ด้านเหนือแห่งพระเจดีย์นั้น เป็นที่ประดิษฐานพระไพรีพินาศ ในการบูรณปฏิสังขรณ์ปีพุทธศักราช ๒๕๐๗-๘ นี้ ทำประตูเหล็ก ๒ ชั้น ช่องหน้าต่างใส่เหล็กทั้งสองข้าง ฝาผนังปิดโมเสก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ปิดทองพระไพรีพินาศ ในวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๐๘ ด้วย 
                   ในหนังสือตำนานวัดมีกล่าวว่า พระไพรีพินาศ ใคร่ครวญตามพระนามน่าจะได้เชิญประดิษฐานไว้ในเก๋งน้อยที่สร้างใหม่ ณ ทักษิณชั้นบนแห่งพระเจ ดีย์ในครั้งนั้น เว้นไว้แต่จักได้ประดิษฐานไว้แล้วในครั้งยังทรงผนวชเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๑ ที่เป็นคราวสิ้นเสี้ยนศัตรู ครั้งแรก 

พระไพรีพินาศ ในสาสน์สมเด็จ
เล่ม ๒ หน้า ๘๕-๙๐-๑๑๖
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทูลสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ตั้งปัญหาถามกระหม่อมว่า พระไพรีพินาศนั้น เป็นพระอะไร มาแต่ไหน ทำไมจึงมาอยู่วัดบวรนิเวศ เหตุใดจึงชื่อว่า        ไพรีพินาศ เกล้ากระหม่อมหงายท้อง ไม่สามารถตอบได้ อยากรู้เหมือนกัน  เคยทูลถามฝ่าพระบา ทก็ไม่ทรงทราบเหมือนกัน หันไปหันมาเห็นกรมหมื่นพงศา จึงลองเข้าจดทูลถามดู ตรัสบอกว่า ใครก็ทรงจำชื่อไม่ได้เสียแล้ว เป็นผู้นำมาถวายทูลกระหม่อมเมื่อยังทรงผนวชอยู่       เป็นเวลาติดต่อกับที่หม่อมไกรสรถูกสำเร็จโทษ   จึงโปรดตั้งพระนามว่า "พระไพรีพินาศ 
พระไพรีพินาศเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น บรรจุพระพุทธวจนะ ประดิษฐานอยู่ในคูหาภายในพระเจดีย์ใหญ่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ ระหว่างการบูรณะพระเจดีย์ใหญ่ได้เปิ ดองค์พระไพรีพินาศเจดีย์ดู พบกระดาษสีขาว มีตราแดง ๒ ดวง มีอักษรเขียนว่า "พระสถูปเจดียสิลาบัลลังองค์ จงมีนามว่า พระไพรีพินาศเจดียเทิญ" อีกหน้าหนึ่งเขียนว่า "เพระตั้งแต่ทำแล้วมา คนไพรีก็วุ่นวายยับเยินไปโดยลำดับ"